ประชุมเชียร์&รับน้อง
ปฐมบทชีวิตของเด็กมหาวิทยาลัย
---------------------------------------------------------
" ปี 1 ปี 1 ฟังคำเรียกแถว... แถวตอนเรียน 8 ปฏิบัติ ! "
ประโยคสุดฮิตของการประชุมเชียร์ที่แผดเสียงมาจากพี่หน้าเข้มปี 3 ที่เค้ามีสรรพนามเรียกตนเองว่า Staff หรือเรียกกันภาษาปากว่า ว๊ากเกอร์ ที่เด็กน้องใหม่จะมีความรู้สึกไม่ชอบที่ต้องโดนสั่ง โดนว่า โดนด่า จากคนที่ไม่ได้เป็นญาติโกโหติกาอะไรกับน้อง ๆ เค้า เอะอะก็สั่ง เอะอะก็ด่า เอะอะก็ว่าเป็นกิจวัตรตลอดระยะเวลา 1 เดือน อาจจะมากหรือน้อยตามแต่สภาพร่างกายของ staff ว่าอำนวยแค่ไหน
กิจกรรมประชุมเชียร์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ว๊าก" แท้จริง เป็นการทำกิจกรรมซ้อมเชียร์อย่างหนึ่ง โดยทำให้นักศึกษาใหม่ที่ยังไม่รู้จักกันได้มาทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้สภาวะความกดดัน ภายใต้สถานการณ์บีบบังคับ เพื่อให้รู้จักเพื่อน รู้จักตัวตนของเพื่อนในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีโจทย์ที่ต้องทำคือการร้องเพลงประจำมหาวิทยาลัย เพลงประจำคณะ และเพลงของภาคหรือสาขาวิชาตน เพื่อดึงศักยภาพของตนและเพื่อน ๆ ออกมาให้พี่ ๆ ยอมรับตนเองเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชา
กระบวนการก็จะมีตั้งแต่การว๊าก Psycho งอนง้อ และการรับเข้าสู่สาขาหรือภาควิชาของตน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องคิด กลั่นกรองมาเป็นอย่างดี ภายใต้ความกดดันจากคณาจารย์ จากผู้บริหาร และสายตาประชาชนที่ไม่ได้รู้ประสีประสากับกิจกรรม
มันอาจจะมองว่าดูเป็นการโหดร้าย ป่าเถื่อน รุนแรง เป็นอันตราย ทำให้เครียด แตกความสามัคคี แต่ที่จริงแล้ว มันมีอีกมุมให้มองต่างหากล่ะ
แน่นอนว่าไม่มีใครจะชอบหรอกที่อยู่ดี ๆ จะมาโดนด่า แต่พวกคุณอย่าลืมน่ะครับว่า ตอนคุณอยู่ ม.6 คุณเป็นพี่ใหญ่ในโรงเรียน คุณจะทำอะไรรุ่นน้องต้องฟังคุณ คุณมีสิทธิ์มีอำนาจจะจัดการได้ตามความประสงค์ ในฐานะที่คุณอาวุโสที่สุดในโรงเรียน บางทีอาจจะเกิดความลำพองใจว่าฉันเจ๋ง ฉันแน่
พอคุณเข้าสู่มหาวิทยาลัย บางทีคุณอาจจะลืมไปคิดว่าคุณเจ๋งคุณแน่ จนบางทีคุณก็เกรียน ปีนเกลียวกับรุ่นพี่ เค้าเลยถึงมีกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้คุณรู้ตัวว่าตอนนี้คุณเป็นเด็กน่ะ คุณต้องให้ความเคารพต่อคนที่เป็นพี่กว่าคุณ คุณต้องระลึกว่าเพื่อคุณต้องเดินไปพร้อมคุณ เป็นการ Ice Breaking แต่ละคนให้รวมกันได้ในสภาวะความกดดัน และเวลาที่จำกัด
คุณอาจจะรู้สึกไม่ดีกับรุ่นพี่คุณอยู่แล้ว วัน ๆ คุณต้องโดนทดสอบ โดน test เพลง โดนด่า สารพัด
แต่สิ่งนั้นที่คุณผ่านมามันคือบททดสอบทางจิตใจของคุณอย่างนึง
เพราะชีวิตคุณมีพี่อยู่ในมหาวิทยาลัย และเพื่อนของคุณที่ต้องอยู่ด้วยกันจนจบการศึกษา คณาจารย์ที่คุณต้องรู้จักและให้ความเคารพ และขอคำปรึกษา รวมทั้งพ่อแม่ที่คอยดูแลเราห่าง ๆ คุณต้องทำให้ตัวคุณเป็นที่ภาคภูมิใจของพ่อแม่พี่น้องวงศาคณาญาติ แต่ระหว่างทางคุณต้องเจออุปสรรค์มากมายในชีวิตของตน
กิจกรรมนี้มันก็เหมือนเป็นวัคซีนที่คอยสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ตัวคุณอย่างนึง เมื่อคุณโดนอะไรที่แรงๆ มา จิตใจคุณก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา พอเมื่อเจอเรื่องอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ หรือทำนองเดียวกัน มันก็จะทำให้คุณกล้าที่จะเผชิญกับมัน และแก้ปัญหามันได้เรื่อย ๆ
แต่ทำไมภาพที่ออกสู่สายตาประชาชนถึงได้เป็นอย่างที่เห้น ?
อ่ะแน่นอน กิจกรรมทุกอย่างเค้ามีกรอบมีระเบียบปฏิบัติ แต่เด็กไทยเป็นโรคจิตอยู่อย่างคือ "ชอบแหกกฏ" ดังนั้นเวลาเค้าทำอะไรมันจะลืมระเบียบ ลืมกฏของตัวเอง แต่ถ้ามหาวิทยาลัยไหน ที่อาจารย์ลงมาคุมกิจกรรม ไม่ต้องห่วงครับเรื่องพวกนี้ไม่ค่อยมีหรอก ยกเว้นทำนอกสายตาคณาจารย์ แต่บางทีไม่มีอาจารย์ไป แต่มีพวกพี่บัณฑิตไป พี่บัณฑิตที่รุ่นเดอะ ๆ หน่อยเค้าก็จะรู้ เค้าก็จะปรามได้ให้เหมาะสม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่าวุฒิภาวะมีกันขนาดไหน
แต่ผมเชื่อว่าถ้ากิจกรรมทำอยู่ในกรอบของมัน ไม่รุนแรงหรอกครับ คงไม่มีซ่อมจนม่องเท่งเหมือนตามข่าว เราเข้าใจถึงสิทธิเสรีภาพบุคคลดี แต่ก็ต้องพึงเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยเสมอ พูดง่าย ๆ คือคุณต้องรู้หน้าที่ด้วยแค่นั้นเอง
วันนึงที่คุณผ่านกิจกรรมนี้ แล้วมองย้อนกลับไป คุณจะรู้สึกขำตัวเองว่าทำไปได้ยังงัยแล้วคุณก็จะรู้สึกว่าเราได้ผ่านมาแล้วน่ะ ผ่านจุดวิกฤตของชีวิตมาอีกขั้นนึง ผ่านปฐมบทชีวิตรั้วมหาวิทยาลัยได้แล้ว
และคุณก็อยากจะให้สิ่งเหล้านี้กับน้องในรุ่นต่อ ๆ ไปที่จะมาเป็นน้องพวกคุณ
ผมว่ากิจกรรมนี้ไม่มีอะไร นอกจากทำให้คุณเป็น Unity อย่างมี Spirit รู้จัก Seniority Order และทำให้คุณได้นำ Tradition นี้ ไปให้กับน้อง ๆ ของคุณเพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า SOTUS นั่นเอง
( แปลไทยเป็นไทย " ทำให้คุณเป็นหนึ่งเดียวอย่างมีศักยภาพ รู้จักความเป็นผู้ใหญ๋ที่สามารถควบคุมตนเองและผู้อื่นได้ดีจนเป็นประเพณีที่สืบต่อให้น้อง ๆ รุ่นต่อไป )
แล้วคุณมองเรื่องนี้แบบมีสติ หรืออคติ ?
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น